7.ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลที่เราได้พบเจอในชีวิตประจำวันนั้นมีมากมาย มีทั้งที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และไม่ได้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
1. แบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล และ
2. แบ่งตามรูปแบบการแทนข้อมูล
ข้อมูลทั้งสองประเภทมีรายละเอียดดังนี้
1. ชนิดข้อมูลแบ่งตามแหล่งที่มา มี 2 ชนิด คือ
1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data)
คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลขั้นต้นหรือได้มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลนักเรียนที่ได้มาจากการตอบแบบสอบถาม การสำรวจ การสัมภาษณ์ การวัด การสังเกต การทดลอง เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และเป็นปัจจุบัน
1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)
คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว โดยผู้หนึ่งผู้ใด หรือหน่วยงานได้ทำการเก็บรวบรวมหรือเรียบเรียงไว้ ซึ่งข้อมูลสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้เลย เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูลปริมาณน้ำฝน จากกรมชลประทาน เป็นต้น
2. ชนิดข้อมูลแบ่งตามรูปแบบการแทนข้อมูล มี 4 ชนิด คือ
2.1 ข้อมูลชนิดตัวเลข (Numeric data)
หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้ อาจอยู่ในรูปของจำนวนเต็ม ทศนิยม เศษส่วน เป็นต้น
2.2 ข้อมูลชนิดตัวอักษร/อักขระ (Character data)
หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น
2.3 ข้อมูลชนิดตัวอักษรเลข (Alphanumeric data)
หมายถึง ข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร (อักษรภาษาอังกฤษ) ตัวเลข และตัวสัญลักษณะพิเศษ เช่น ปนกัน เพื่อใช้บรรยายหรือสื่อความหมายต่าง ๆ ได้ตามที่จะกำหนด เช่น กระดาษ เป็นต้น
2.4 ข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย (Multimedia data)
หมายถึงข้อมูลที่มีทั้งภาพ เสียง ข้อความปนกัน เป็น

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น